งานด้านการศึกษาและพัฒนาเยาวชน
วัตถุประสงค์ เพื่อมีส่วนร่วมในการพัฒนาเยาวชนให้เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ดี เป็นประโยชน์ต่อสังคม เป็นผู้มีคุณธรรม โดยยึดหลักธรรมของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นพื้นฐาน ให้พัฒนาตนเองเป็นคนสมบูรณ์พร้อม สามารถช่วยเหลือตนเอง สังคม และและประเทศชาติได้
กลุ่มเป้าหมาย ตั้งเด็กเล็กจนจบการศึกษาในระดับอุดมศึกษา
1. ทุนการศึกษา
วัตถุประสงค์ เพื่อให้เยาวชน ที่มาจากครอบครัวที่ด้อยโอกาศ ตั้งแต่ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นขึ้นไป จนจบการศึกษาระดับอุดมศึกษา ได้มีทุนเพิ่มเติมในการศึกษาเล่าเรียน
กลุ่มเป้าหมาย (ปัจจุบัน) เยาวชนในจังหวัด กาญจนบุรี อุบลราชธานี
การดำเนินการ มูลนิธิให้ทุนการศึกษาปีละ ประมาณ 500 ทุน รายละเอียดดังนี้ รวมที่ให้ทุนแล้วทั้งสิ้น 7จำนวน 462 คน แยกตามระดับชั้นและจังหวัดดังนี้ (2557)
ระดับอาชีวศึกษา
ปวช.ปี 2 จำนวน 6 ทุน, ปวช. ปี 3 จำนวน 3 ทุน, ปวส. ปี 2 จำนวน 2 ทุน, ปวส. ปี 2 จำนวน 2 ทุน
ระดับอุดมศึกษา
ปริญญาตรีปี 1จำนวน 19 ทุน, ปริญญาตรีปี 2 จำนวน 11 ทุน, ปริญญาตรีปี 3 จำนวน 19 ทุน, ปริญญาตรีปี 4 จำนวน 23 ทุน
ระดับมัธยมศึกษา (จังหวัดอุบลราชธานี)
ม.1 (กำลังคัดเลือก ), ม.2 จำนวน 49 ทุน, ม.3 จำนวน 34 ทุน, ม.4 จำนวน 24 ทุน, ม.5 จำนวน 12 ทุน, ม.6 จำนวน 12 ทุน
ระดับมัธยมศึกษา (จังหวัดกาญจนบุรี)
ม.1 จำนวน 60 ทุน, ม.2 จำนวน 59 ทุน, ม.3 จำนวน 55 ทุน, ม.4 จำนวน 29 ทุน, ม.5 จำนวน 20 ทุน, ม.6 จำนวน 25 ทุน
รวม 462
2. อบรมจริยธรรม
วัตถุประสงค์ ให้เยาวชนได้ซึมซับค่านิยมในการดำรงค์ชีวิต การอยู่ในสังคม ตามหลักพระพุทธศาสนา โดยการฝึกปฏิบัติทั้งในเรื่องของกาย วาจา และใจ
กลุ่มเป้าหมาย เยาวชนที่ได้ทุนการศึกษาจากมูลนิธิ และเยาวชนทั่วไป ตามคำขอของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
การดำเนินงาน ครั้งละ 5 - 7 วัน
3. โรงเรียนวัดป่า
คติพจน์ ปลูกความดี ทวีความรู้ ก้าวสู่ความเป็นผู้นำ
หลักปรัชญา วิถีพุทธ วิถีธรรมชาติ เป็นแนวทางการศึกษาเพื่อให้เกิดการพัฒนาใน 3 ด้าน
คือ พฤติกรรม จิตใจ ปัญญา
แนวคิดและความเป็นมา
การเรียนรู้อยู่เสมอ ทั้งการเรียนรู้ตามหลักสูตรระบบการศึกษา การเรียนรู้จากการสังเกต ธรรมชาติสิ่งแวดล้อม การอ่าน การฟัง การเขียน การเรียนรู้จากประสบการณ์ชีวิตตนเอง บทเรียนจากประสบการณ์ชีวิตผู้อื่น ฯลฯ ล้วนเป็นกระบวนการสำคัญที่ก่อให้เกิดการพัฒนาศักยภาพของมนุษย์
ในฐานะที่มูลนิธิมายา โคตมี เป็นองค์กรหนึ่งที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อส่งเสริมการศึกษาให้แก่เยาวชนไทยในท้องถิ่นชนบท มูลนิธิฯ โดยอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก ได้ริเริ่มโครงการโรงเรียนวัดป่า เพื่อจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ในหลากหลายรูปแบบให้แก่เยาวชนไทยในท้องถิ่น เพื่อให้เกิดการพัฒนาด้านจิตใจ สติปัญญา ซึ่งจะเป็นพื้นฐานอันสำคัญที่จะสร้างและพัฒนาศักยภาพให้แก่เยาวชนของชาติได้เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพ มีศักยภาพความเป็นผู้นำ และ สามารถเป็นกำลังสำคัญของการพัฒนาท้องถิ่นและสังคมต่อไป
วัตถุประสงค์
1.) เพื่อพัฒนาจิตใจและสติปัญญา
2.) เพื่อพัฒนาด้านร่างกาย ทักษะการใช้เครื่องมือ ปรับการใช้ชีวิตเข้ากับธรรมชาติ
3.) ส่งเสริมการเรียนรู้ ประยุกต์ พัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ สร้างรายได้จากปัจจัย 4
4.) ส่งเสริมการเรียนรู้วิชาการ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ศิลปะ สังคมและวิทยาศาสตร์
5.) ปลูกฝังให้นักเรียนตระหนักถึงบทบาทหน้าที่ของตน หน้าที่ต่อครอบครัว ชุมชนและสังคม
6.) เพื่อพัฒนาศักยภาพในการเป็นผู้นำ
เป้าหมาย
ในเชิงคุณภาพ เยาวชนที่เข้ารับการอบรมได้รับการปลูกฝังคุณธรรม บ่มเพาะอุปนิสัยอันดีงาม ได้เรียนรู้ทักษะการใช้ชีวิตตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ได้รับความรู้เชิงวิชาการ ได้รับการพัฒนาสติปัญญาให้มีศักยภาพในการเป็นผู้นำ
ในเชิงปริมาณ เยาวชนที่สมัครเข้ารับการอบรม ได้รับการอบรมอย่างต่อเนื่องจนครบหลักสูตร ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80 และสามารถบอกเล่าประสบการณ์ที่ตนได้รับจากการเข้ารับการอบรมได้อย่างเป็นรูปธรรม
เมื่อจบหลักสูตรผู้เข้ารับการอบรมครบตามกำหนดจะได้รับประกาศนียบัตรแสดงว่าเข้ารับการอบรมในโครงการโรงเรียนวัดป่า
กลุ่มเป้าหมาย
เยาวชนอายุตั้งแต่ 6-12 ปี ที่อาศัยอยู่ในท้องถิ่นรอบวัดสุนันทวนาราม จำนวน 70-80 คน
ระยะเวลา
เป็นหลักสูตรอบรม 1 ปี โดยจัดเดือนละ 1 ครั้ง ในวันศุกร์เย็น – วันอาทิตย์บ่าย เป็นเวลา 2 วัน 2 คืน
สถานที่
บริเวณรอบวัดสุนันทวนาราม
รูปแบบการเรียนรู้
ฟังบรรยาย กิจกรรมกลุ่ม สนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็น จดบันทึก ฝึกปฏิบัติ
ผู้รับผิดชอบ
วัดสุนันทวนาราม และมูลนิธิมายา โคตมี
บุคลากรผู้เกื้อหนุน
• คณะสงฆ์วัดสุนันทวนาราม
• คณาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฎกาญจนบุรี ,มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
• ธรรมะบริกรวัดสุนันทวนาราม
• นักเรียนทุนมูลนิธิมายา โคตมี
• คณะครูโรงเรียนสยามสามไตร
หลักสูตรและแผนการเรียน
หลักการศึกษา การศึกษา คือ การที่จะฝึกตัวเอง รับผู้ประสบการณ์ และหาทางที่จะปฏิบัติต่อสิ่งแวดล้อมให้ดี หรือแก้ปัญหาให้ได้ สามารถพัฒนาชีวิตตัวเองเป็นอยู่ที่ดีมีความสุขตามหลัก ไตรสิกขา คือ การศึกษา 3 ด้าน และมรรค คือ การดำเนินชีวิตที่ถูกต้อง 8 ประการ ไตรสิกขา อริยมรรค ๘ ผลที่คาดหวัง
ศีล พฤติกรรม พูดจาชอบ
การงานชอบ
เลี้ยงชีพชอบ รักษากฎกติการะเบียบวินัยมีมารยาท,สำรวมกาย-วาจา,สร้างประโยชน์ตน,ผู้อื่นเรียนรู้ พัฒนา รับผิดชอบตนเองและสังคมสิ่งแวดล้อม สังคมโรงเรียนที่เป็นสุข ,มีวิถีชีวิตที่เรียบง่าย ถ่อมตน, กล้าทำความดี เป็นผู้ให้มีจิตอาสา เสียสละตามบทบาทหน้าที่
สมาธิ จิตใจ พากเพียรชอบ
ระลึกชอบ
ตั้งใจมั่นชอบ เจตนาทำความดี,ระลึกรู้ สร้างความสุขในการดำรงชีวิต อันเป็นปัจจุบัน สามารถตัดสินใจได้เหมาะสม
รู้ถึงผลดี-ผลเสียที่จะตามมาจากการกระทำ คำพูด ความคิด
ปัญญา ปัญญา ความเห็นชอบ
ดำริชอบ รู้เหตุถึงผล รู้ผลถึงเหตุ พิจารณาทบทวนความรู้ความเข้าใจ ,ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ,เห็นประโยชน์ของสรรพสิ่ง รู้บัญญัติ
รู้สัจจะ เข้าใจทุกๆสิ่งตามความเป็นจริง รู้จักความสุขที่เกิดขึ้นได้ภายในตนเองมีความเชื่อที่ถูกต้อง ,ให้มีชีวิตดำรงอยู่อย่างสันติสุขและอิสรภาพ
มีวิสัยทัศน์ในการดำเนินชีวิต
การสอน
คือ การช่วยให้ศึกษา ช่วยให้เรียนรู้ทั้งสามด้าน คือ พฤติกรรม จิตใจ ปัญญา มีชีวิตที่ต้องพยายามเป็นอยู่ให้ดีตลอดเวลา มีองค์ประกอบ ดังนี้
1.) สังคมกัลยาณมิตร (องค์ประกอบภายนอก) ครูอาจารย์,พ่อแม่,พี่น้อง,เพื่อน,สังคม,พระสงฆ์และธรรมชาติ
2.) โยนิโสมนสิการ (องค์ประกอบภายใน) รักการเรียนรู้,พัฒนาจิตใจ ,กินเป็น อยู่เป็น, รู้เห็นความจริงตามธรรมดา
ผู้สอน (กัลยาณมิตร) ความรู้ ผู้เรียน โยนิโสมนสิการ ตัวรู้
การเรียนรู้ใช้หลักของอินทรีย์ 5 พละ 5 ดังนี้
สร้างตัวรู้ (สติสัมปชัญญะ หรือปัญญาญาณ)
เริ่มต้นที่สร้างศรัทธาตนเองพ่อแม่และครอบครัวเพื่อน ครูอาจารย์และโรงเรียนชุมชน , จังหวัด, ประเทศ, สิ่งแวดล้อม ธรรมชาติ และพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ ก่อให้เกิดวิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา เป็นลำดับต่อเนื่องกันไป
สร้างความรู้ (เนื้อหาวิชาการ และวิชาชีพ)
เริ่มต้นจากการสร้างแรงจูงใจ หรือแรงบันดาลใจ เลือกวิธีการและสื่อที่น่าสนใจ และเหมาะสมในการสอนสร้างความต่อเนื่องของเนื้อหาสอนความสำคัญของสิ่งธรรมดารอบๆตัว รู้คุณค่าของปัจจัย 4 โดยมีตัวอย่างผู้นำชุมชน, ปราชญ์ชาวบ้านดูสารคดี หรืออัตชีวประวัติบุคคลสำคัญความน่าสนใจตามธรรมชาติ ก่อให้เกิดความพยายาม ค้นคว้าด้วยตนเอง เมื่อสังเกตและเอาใจใส่ย่อมส่งผลให้เกิดความรู้และทักษะ อันจะสร้างความภูมิใจ เป็นแรงจูงใจ ให้เริ่มเรียนรู้เชิงลึกต่อไป
ต้นทุนทางการศึกษา
วัดสุนันทวนาราม พื้นที่ 1500 ไร่ ธรรมชาติและพันธุ์ไม้นานาชนิด อาคารปฏิบัติธรรม
มูลนิธิมายาโคตมี การให้ทุนการศึกษาเด็ก หนังสือธรรมะ การทอผ้าซาโอริ แปลงเกษตรอินทรีย์แบบองค์รวม ,สวนสมุนไพร
ชุมชนท้องถิ่น หมู่บ้านคนมอญ, การทำเกษตรกรรม, วิถีชีวิต และเอกลักษณ์ในปัจจัย 4
จังหวัดกาญจนบุรี ประวัติศาสตร์,ประเพณี, พิพิธภัณฑ์ประจำจังหวัด และอุทยานแห่งชาติ
บริจาคเพื่อสนับสนุนการจัดอบรม
- โอนเงินเข้าบัญชีธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาหมู่บ้านนักกีฬาแหลมทอง
เลขที่บัญชี 211-2-20299-8 ชื่อบัญชี "มูลนิธิมายา โคตมี"
- หักบัญชีเงินฝากผ่านธนาคารไทยพาณิชย์
- โดยขอให้ธนาคารหักจาก "บัตรเครดิตธนาคารกรุงไทย"
- เช็คสั่งจ่าย "มูลนิธิมายา โคตมี"
กรุณาส่งหลักฐานการโอนเงิน และแจ้งชื่อ-สกุล / ที่อยู่ มาที่มูลนิธิฯ ทางไปรษณีย์ โทรสาร หรือ e-mail ที่
This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
เพื่อดำเนินการออกใบรับเงินบริจาค สำหรับหักลดหย่อนภาษีต่อไป